rss
email
twitter
facebook

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

IT VS Marketing for education

การตลาด 3.0 ได้พัฒนามาจากเทคโนโลยี Web 1.0 และ 2.0 ซึ่งเคยเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการห้องสมุดในอดีต และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่เทคโนโลยี Web 3.0 ในอนาคต ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงโลกการตลาด ก่อให้เกิดแนวคิดการตลาด 1.0 ที่มุ่งเน้นสินค้าและบริการ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการตลาด 2.0 ที่ มุ่งสร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมที่ดีกับลูกค้า ปัจจุบันในยุคการตลาด 3.0 เกิดจากความต้องการที่แตกต่างและหลากหลาย โดยเฉพาะการเติบโตของสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ต้องเข้าถึงความคิดจิตใจของผู้บริโภคและมุ่งเน้นความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของสินค้า เพื่อดึงดูดและครองใจผู้บริโภคให้เกิดความประทับใจและความผูกพันต่อสินค้าหรือองค์กรอย่างยั่งยืน
การตลาดในปัจจุบันนี้ ขยายตัวไปจนถึงการศึกษา  มีสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนหลายแห่งต่างใช้การตลาดในการสร้างความนิยมของโปรแกรมการศึกษาของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรแกรมEx-MBA , Young MBA  และโปรแกรมอื่นๆอีกมากมาย หรือที่เรียกว่า เป็นโปรแกรมภาคพิเศษ
สิ่งที่เราจะเห็นจากนี้ไป ก็คือ การตลาดในระบบการศึกษาจะรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะทุกสถาบันต่างเริ่มพัฒนาตัวเองสู่ระบบการเรียนรู้ทางไกล (E-Learning)  ทุกมหาวิทยาลัยก็จะแข่งกันออกโปรแกรมการศึกษาทางไกล และจะต้องใช้นักการตลาดที่เข้มข้นกว่านี้ เพราะนอกจากจะต้องแข่งกันเองแล้ว ยังต้องแข่งกับระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้ และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น นับเป็น ยุค 2.0 ที่ครูต้องตระหนักกับการเปลี่ยนถ่ายของข้อมูล จากข้อมูลที่คงที่เข้าสู่ยุคของข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แนวคิดการนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำลังให้การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะปัจจุบัน Social Media ได้ กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นการนำเทคโนโลยี Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นการผลักดันให้ครูก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เกิดระบบ ชุมชนแห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เนื่องจากวิวัฒนาการของสื่อใหม่หรือสื่อทางสังคมในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่นิยมในการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมทุกกลุ่ม ดังนั้นจึงได้มีการนำมาปรับใช้ในวงการศึกษาเรียนรู้จากสื่อประเภทดังกล่าวนี้ ซึ่งเหตุผลประการสำคัญของการนำเอาสื่อสังคมหรือ Social Media  มาใช้ร่วมกันในหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้นมีหลายประการ แต่มีเหตุผล  2  ประการที่สำคัญ คือ
1. สื่อ Social Media  ( เช่น  Blog , Wikis , Facebook , Twitter , MSN , Linkedln , Flicker , etc ) เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิ ทธิภาพ ในการทำให้ผู้ เรียนมีอิสระในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นซึ่งการนำเอาสื่อประเภทเหล่านี้เข้ามาใช้ในโรงเรียน จะสนองต่อจุดประสงค์สำคัญและเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้
2. การนำเอาสื่อ Social Media มาใช้ ในโรงเรียนยังเป็นการจำกัดช่องทาง และมีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ( นักเรียน) ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารได้ด้วยตนเองโดยเฉพาะการสื่อสารจากการใช้เว็บไซต์ และยังเป็นระบบการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับต้นได้อีกด้วยประเภทของสื่อ Social Media  ที่นำมาใช้ ในในวงการศึกษาหรือการเรียนการสอนในปัจจุบันมีหลายประเภท ที่สำคัญได้แก่
  •        Blogs / Weblogs       
  •        e-Books
  •        Wikis   
  •        Instant Messaging
  •        Podcasts         
  •        Skype  
  •        e-Portfolios         
  •        Games
  •        Social Networking       
  •        Mashups
  •        Social Bookmarking       
  •        Mobile Learning
  •        Photo Sharing       
  •        RSS Feeds
  •        Second Life         
  •        You Tube
  •        Online Forums   
  •        Audio Graphics
  •        Video Messaging
  •        Facebook   แนวคิด facebook เพื่อการเรียนการสอน เช่น

1.  ใช้  Facebook  เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างระบบบริหารจัดการความรู้ 
2. ใช้ Facebook เพื่อเป็นแหล่งสำหรับการสืบค้นอ้างอิง
3. ใช้สำหรับการประกาศหรือประชาสัมพันธ์
4. ใช้ในการสื่อสารข้อความภายหลังการสอนหรือจบบทเรียนในชั้นเรียน
5. ใช้ในการอภิปรายกลุ่มเชิงสร้างสรรค์
  •       Twitter แนวคิด Twitter เพื่อการเรียนการสอน เช่น

1. Twitter เป็นสื่อสร้างองค์ความรู้ต่างๆของการเรียนรู้ในประเด็นที่สนใจสำหรับผู้เรียน
2. ใช้ Twitter ในการถามตอบข้อสงสัยสั้นๆ หรือซักถามประเด็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ
3. เป็นแนวทางในการเสริมสร้างมโนทัศน์   โดยใช้  Twitter เป็นตัวเชื่อมโยงแนวคิดที่นำเสนอของผู้เรียน ผู้สอน
4. เป็นสื่อเชื่อมโยงด้านเวลา โดยสื่อ Twitter สามารถเชื่อมโยงด้านเวลา รวมทั้ง
การกำหนดเวลาได้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้
5.  เป็นสื่อที่ช่วยกำหนดปฏิทินหรือตารางการเรียนรู้ โดยผู้ เรียนสามารถจัดการและเก็บรวบรวมองค์ความรู้จากการใช้ Twitter ได้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

การดำเนินการณ์ข้างต้นจะทำให้ผู้ที่ต้องการสามารถเข้าถึงตัวหลักสูตรตัวนั้นและเสนอแนะในสิ่งที่ผู้เรียนหรือนักศึกษาสนใจและอยากที่จะเขียน ทำให้สถาบันนั้นสามารถเข้าถึงและรับทราบความต้องการเพื่อนำไปทำการปรับปรุงแก้ไขหรือทำการเพิ่มเติม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนให้มากที่สุด ทั้งนี้ยังใช้ในการเรียนการสอนได้อีกเช่นการเรียนส่งการบ้านส่งงานผ่าน  Social Media ที่ผู้เรียนนั้นได้ใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งนี้คือการปรับตัวไปตามาสมัยและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตัวผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่สามารถนำ  IT มาประยุกต์เข้ากับ Marketing  for educationในปัจจุบัน  เช่น การนำ Marketing 3.0 มาใช้กับงานห้องสมุด จะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดของการบริหารห้องสมุดแบบใหม่ ทั้งการวางแผนเชิงปฏิบัติการ การควบคุมการบริการในลักษณะที่ต้องตามให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้บริการในสังคมยุคใหม่ รวมถึงการหาแนวทางพัฒนา สร้างสรรค์คุณค่าบริการ การสื่อสาร และที่สำคัญที่สุดคือ  ต้องสร้างความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ ความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรหรือห้องสมุด  เพื่อที่ผู้ใช้บริการจะไม่ได้เข้ามาเพราะความจำเป็นเพียงอย่างเดียว แต่มาเพราะเกิดความประทับใจและผูกผันกับห้องสมุดด้วย และการใช้โปรแกรม PMB หรือ PhpMyBibli ซึ่งเป็นโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบ Open Source ที่มีความสามารถสูง รองรับระบบงานห้องสมุดได้หลากหลาย และถูกนำไปใช้งานในหลาย ๆ ประเทศไม่แพ้ KOHA, OpenBiblio, Evergreen หรือ Senayan  ซึ่งจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับห้องสมุดทุกระดับ ทดแทนการใช้งานโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่มีราคาแพงและขาดความยืดหยุ่นในหลาย ๆ ด้าน พัฒนาด้วยเทคโนโลยี  PHP-MySQL และเป็น Web Application (HTTP Protocol) ทำงานผ่านเว็บบราวเซอร์ อีกทั้งรองรับหลายภาษารวมถึงภาษาไทย

ข้อดีของการประยุกต์ใช้ IT กับ Marketing for education
  •  เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีมากกว่า
  •  สามารถกระจายข่าวสารข้อมูลสินค้าต่างๆ ทำได้ทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น ช่วยให้กระบวนการจัดการ   ความรู้ทำได้อย่างกว้างขวาง และสามารถจำกัดหรือขยายขนาดของเครือข่ายสังคม 
  •  สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น เช่น การตรวจสอบจำนวนคนที่เข้าชม หรือสนใจ หรือการเก็บสถิติผู้ที่สนใจนั้นเอง ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทำให้สถาบันการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร นโยบายต่างๆให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนให้มากที่สุด
  • ราคาลงโฆษณาถูก และคุ้มค่า กว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น เป็นสื่อที่ประหยัดเหมาะสมต่อการใช้สื่อประเภทนี้ เป็นสื่อที่ปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อม ดังนั้นประสิทธิภาพและความสำเร็จจึงขึ้นอยู่ กับปัจจัยที่หลากหลายทั้งด้านสถานะทางสังคม และทัศนคติ การยอมรับ ดังนั้นจึงเป็นสื่อที่มี ความเหมาะสมต่อการเสริมสร้างโอกาสและความรับผิดชอบของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
  • เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มด้วยกัน  ซึ่งสื่อ Social Media จะก่อให้ เกิดคุณประโยชน์ สำคัญที่ผู้ เรียนสามารถเลือกหรือสร้างช่องทางทางการเรียนรู้จากสื่อสังคมดังกล่าวที่กระทำได้ในหลากหลายกิจกรรมในการสื่อสาร
  • จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • เป็นการสร้างศักยภาพของการสื่อสาร /สื่อความหมายสนองต่อความต้องการของการสื่อความหมายในการเรียนการสอนของผู้เรียนและทำให้ผู้ เรียนได้ รู้ถึงรูปแบบและระดับในการสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมทางการเรียนรู้ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ ได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการสื่อสารจากสื่อ Social Media เป็นตัวเชื่อมโยงประสบการณ์ดังกล่าว
  • เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างทักษะความรู้ได้อย่างมีวิจารณญาณ   สื่อจะเปิดโอกาสให้ผู้ เรียนสามารถสร้างทักษะองค์ ความรู้ที่มีประสิ ทธิ ภาพ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะในการพัฒนาการใช้สื่อประเภทดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิผล
  • สื่อเปิดกว้างตลอด 365 วัน 24 ชม.
  • การเข้าร่วมในเว็บเครือข่ายสังคม มักเป็นความสมัครใจของสมาชิกเอง ทำให้สมาชิกเต็มใจ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในเครือข่ายสังคม
  • การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลางของเว็บ facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น
แต่การนำ IT มาประยุกต์ก็อาจมีข้อเสียบางส่วน เช่น
·    
  • การใช้งานเพื่อความบันเทิง เกมมากกว่าการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่นใน facebook จะประกอบด้วยเกมต่างๆ มากมาย และส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาในการเล่นที่ต่อเนื่องความจำเป็นของอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง และหากผู้สอนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนำเสนอข้อมูลไปยังผู้เรียนเป็นหลักอาจจะก่อให้การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้เรียนได้   
  •   การรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการขาดวิจารณญาณในการข้อมูล ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้าสู่การเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ แหล่งการรับข้อมูลจะไม่สามารถจำกัดไว้เพียงจากผู้สอนเท่านั้น ซึ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องย้ำถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลให้กับผู้เรียน
  • ·      การขาดวิจารณญาณในการนำเสนอข้อมูล เนื้อหาของผู้เรียน ด้วยความสะดวก รวดเร็วในการ        เผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะพบว่า หลายครั้งทำให้หลายคนขาดความยั่ง  คิดในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา

ในอนาคตนี้ การตลาดการศึกษาจะแข่งขันกันรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ราจะเห็นได้ว่า ทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตามสนามบินต่างๆ ในเมืองใหญ่ๆ เราจะแทบเดินชนอาจารย์จากกรุงเทพฯ เดินสายไป Lecture ที่ต่างจังหวัดกันทั้งนั้น ดังนั้น การนำ IT ในรูปแบบต่างๆเข้ามาประยุกต์ในส่วน Marketing for education ก็จะเป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งยังรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาที่จะเติบเติบมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย
การตลาดยุคใหม่ที่จะสร้างสรรค์ความเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน จะต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเป็นปัจจัยนำไปสู่การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์บุคลากร ที่จะพัฒนาและส่งแนวคิดไปยังรุ่นต่อไป


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น