ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information Systems (GIS) คือ ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่
และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย
ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์
และการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เห็นมิติและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล
ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา
และประกอบการตัดสินใจในการปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่
เนื่องจากชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่
โดยทั่วไปจะมีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ไม่มากก็น้อย การตัดสินใจใดๆก็ตาม
มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านภูมิศาสตร์เสมอ เทคโนโลยี GIS สามารถช่วยในการจัดการและบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่
พร้อมทั้งทำให้สามารถเข้าใจในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในเทคโนโลยี
GIS ทำให้ผู้ใช้สามารถลดเวลาที่ต้องเสียไปในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มาก
เช่นเดียวกับการที่สำนักพิมพ์นำเสนอข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วและในราคาถูก เทคโนโลยี GIS ก็จะสามารถทำให้ข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นที่แพร่หลายและแพร่กระจายไปสู่ผู้ใช้ต่าง
ๆ ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนของการผลิตการปรับปรุง และการเผยแพร่ข้อมูล
นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS ยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยเปลี่ยนวิธีการนำเสนอและการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงพื้นที่เหล่านั้น ข้อมูลเชิงพื้นที่นับว่าเป็นข้อมูลที่สามารถดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับความต้องการด้านต่างๆได้ง่ายโดยการนำเสนอ
เทคโนโลยี GIS เข้ามาช่วย อีกทั้งในปัจจุบันการเข้าถึงที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบันมากที่สุดคงไม่พ้นผ่านอินเทอร์เน็ต
ซึ่งสามารถให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์
ด้วยเทคโนโลยี "Web
Service"
ตัวอย่าง
ระบบweb-serviceในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด โดยการนำเทคโนโลยีGIS มาช่วยในการแสดงผลข้อมูล โดยการทำวีดีทัศน์และข้อมูลสารสนเทศ จะนำ GISมาช่วยในการแสดงที่ตั้งและอาณาเขตของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
โดยแบ่งโซนการท่องเที่ยวออกเป็นแต่ละประเภท โดยใช้สีที่แตกต่างกัน เช่น
สีเขียว แทนด้วย สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
สีขาว แทนด้วย สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา
สีดำ แทนด้วย สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังนำ GIS มาแนะนำโซนของสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม
สถานที่ท่องแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี
ในรูปแบบของการใช้สีที่แตกต่างกันได้ด้วย เช่น สีเหลือง สีแดง
ข้อดีของการนำWeb-serviceมาประยุกต์ใช้กับระบบGIS
- ·ข้อมูลมีขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง จึงจะสามารถใช้งานได้ การให้บริการด้วย web service จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา , Smart Phone , Tablet , iPad , iPhone สามารถใช้งาน GIS ได้
- ข้อมูล GIS
มีความซับซ้อน ยากต่อการนำไปใช้ของคนทั่วไป การให้บริการด้วย web
service จะทำให้ผู้ใช้บริการ ที่ไม่มีความรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับ GIS
สามารถใช้งาน GIS ได้
- รูปลักษณ์รูปแบบในการใช้งาน เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ในทุกๆเครื่องมือ เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ดึงข้อมูลไปจาก Web Service เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยใช้งานได้ง่ายๆ กับทุกๆ เครื่องมือ
- ปลอดภัยต่อการโจรกรรมข้อมูลทั้งฐานข้อมูล เนื่องจากการบริการข้อมูลด้วย Web Service เครื่องแม่ข่ายให้บริการข้อมูลเฉพาะส่วนของข้อมูล ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ ณ ขณะนั้นเท่านั้น ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงปลอดภัยต่อการ copy data
- สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรมร่วมกัน เนื่องจากผู้พัฒนาโปรแกรม สามารถนำ Service ไปพัฒนาต่อยอดได้เลย
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ ได้แก่
- ความเสี่ยงจากผู้ปฏิบัติงาน
เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากใช้งาน
การจัดความสำคัญในการเข้าถึง ข้อมูลไม่เหมาะสมกับการใช้งานหรือการให้บริการ
โดยผู้ใช้อาจเข้าสู่ระบบสารสนเทศ หรือใช้ข้อมูลต่างๆ ของกรมเกินกว่าอำนาจหน้าที่ของตนเองที่มีอยู่ และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลสารสนเทศได้
- ความเสี่ยงจากภัยหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยพิบัติ ตามธรรมชาติหรือสถานการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับข้อมูล และสารสนเทศ เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
- ความเสี่ยงด้านเทคนิค เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือและอุปกรณ์เอง อาจเกิดถูกโจมตีจากไวรัสหรือโปแกรมไม่ประสงค์ดี ถูกก่อกวนจาก Hacker ถูกเจาะทำลายระบบจาก Cracker
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น