rss
email
twitter
facebook

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

Mind map of ITM


สามารถเข้าไปดูภาพเต็มได้ที่ http://www.temppic.com/img?28-09-2013:1380354919_0.24348400.jpeg

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

IT VS Marketing for education

การตลาด 3.0 ได้พัฒนามาจากเทคโนโลยี Web 1.0 และ 2.0 ซึ่งเคยเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการห้องสมุดในอดีต และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่เทคโนโลยี Web 3.0 ในอนาคต ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงโลกการตลาด ก่อให้เกิดแนวคิดการตลาด 1.0 ที่มุ่งเน้นสินค้าและบริการ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการตลาด 2.0 ที่ มุ่งสร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมที่ดีกับลูกค้า ปัจจุบันในยุคการตลาด 3.0 เกิดจากความต้องการที่แตกต่างและหลากหลาย โดยเฉพาะการเติบโตของสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ต้องเข้าถึงความคิดจิตใจของผู้บริโภคและมุ่งเน้นความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของสินค้า เพื่อดึงดูดและครองใจผู้บริโภคให้เกิดความประทับใจและความผูกพันต่อสินค้าหรือองค์กรอย่างยั่งยืน
การตลาดในปัจจุบันนี้ ขยายตัวไปจนถึงการศึกษา  มีสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนหลายแห่งต่างใช้การตลาดในการสร้างความนิยมของโปรแกรมการศึกษาของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรแกรมEx-MBA , Young MBA  และโปรแกรมอื่นๆอีกมากมาย หรือที่เรียกว่า เป็นโปรแกรมภาคพิเศษ
สิ่งที่เราจะเห็นจากนี้ไป ก็คือ การตลาดในระบบการศึกษาจะรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะทุกสถาบันต่างเริ่มพัฒนาตัวเองสู่ระบบการเรียนรู้ทางไกล (E-Learning)  ทุกมหาวิทยาลัยก็จะแข่งกันออกโปรแกรมการศึกษาทางไกล และจะต้องใช้นักการตลาดที่เข้มข้นกว่านี้ เพราะนอกจากจะต้องแข่งกันเองแล้ว ยังต้องแข่งกับระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้ และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น นับเป็น ยุค 2.0 ที่ครูต้องตระหนักกับการเปลี่ยนถ่ายของข้อมูล จากข้อมูลที่คงที่เข้าสู่ยุคของข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แนวคิดการนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำลังให้การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะปัจจุบัน Social Media ได้ กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นการนำเทคโนโลยี Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นการผลักดันให้ครูก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เกิดระบบ ชุมชนแห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เนื่องจากวิวัฒนาการของสื่อใหม่หรือสื่อทางสังคมในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่นิยมในการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมทุกกลุ่ม ดังนั้นจึงได้มีการนำมาปรับใช้ในวงการศึกษาเรียนรู้จากสื่อประเภทดังกล่าวนี้ ซึ่งเหตุผลประการสำคัญของการนำเอาสื่อสังคมหรือ Social Media  มาใช้ร่วมกันในหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้นมีหลายประการ แต่มีเหตุผล  2  ประการที่สำคัญ คือ
1. สื่อ Social Media  ( เช่น  Blog , Wikis , Facebook , Twitter , MSN , Linkedln , Flicker , etc ) เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิ ทธิภาพ ในการทำให้ผู้ เรียนมีอิสระในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นซึ่งการนำเอาสื่อประเภทเหล่านี้เข้ามาใช้ในโรงเรียน จะสนองต่อจุดประสงค์สำคัญและเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้
2. การนำเอาสื่อ Social Media มาใช้ ในโรงเรียนยังเป็นการจำกัดช่องทาง และมีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ( นักเรียน) ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารได้ด้วยตนเองโดยเฉพาะการสื่อสารจากการใช้เว็บไซต์ และยังเป็นระบบการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับต้นได้อีกด้วยประเภทของสื่อ Social Media  ที่นำมาใช้ ในในวงการศึกษาหรือการเรียนการสอนในปัจจุบันมีหลายประเภท ที่สำคัญได้แก่
  •        Blogs / Weblogs       
  •        e-Books
  •        Wikis   
  •        Instant Messaging
  •        Podcasts         
  •        Skype  
  •        e-Portfolios         
  •        Games
  •        Social Networking       
  •        Mashups
  •        Social Bookmarking       
  •        Mobile Learning
  •        Photo Sharing       
  •        RSS Feeds
  •        Second Life         
  •        You Tube
  •        Online Forums   
  •        Audio Graphics
  •        Video Messaging
  •        Facebook   แนวคิด facebook เพื่อการเรียนการสอน เช่น

1.  ใช้  Facebook  เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างระบบบริหารจัดการความรู้ 
2. ใช้ Facebook เพื่อเป็นแหล่งสำหรับการสืบค้นอ้างอิง
3. ใช้สำหรับการประกาศหรือประชาสัมพันธ์
4. ใช้ในการสื่อสารข้อความภายหลังการสอนหรือจบบทเรียนในชั้นเรียน
5. ใช้ในการอภิปรายกลุ่มเชิงสร้างสรรค์
  •       Twitter แนวคิด Twitter เพื่อการเรียนการสอน เช่น

1. Twitter เป็นสื่อสร้างองค์ความรู้ต่างๆของการเรียนรู้ในประเด็นที่สนใจสำหรับผู้เรียน
2. ใช้ Twitter ในการถามตอบข้อสงสัยสั้นๆ หรือซักถามประเด็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ
3. เป็นแนวทางในการเสริมสร้างมโนทัศน์   โดยใช้  Twitter เป็นตัวเชื่อมโยงแนวคิดที่นำเสนอของผู้เรียน ผู้สอน
4. เป็นสื่อเชื่อมโยงด้านเวลา โดยสื่อ Twitter สามารถเชื่อมโยงด้านเวลา รวมทั้ง
การกำหนดเวลาได้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้
5.  เป็นสื่อที่ช่วยกำหนดปฏิทินหรือตารางการเรียนรู้ โดยผู้ เรียนสามารถจัดการและเก็บรวบรวมองค์ความรู้จากการใช้ Twitter ได้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

การดำเนินการณ์ข้างต้นจะทำให้ผู้ที่ต้องการสามารถเข้าถึงตัวหลักสูตรตัวนั้นและเสนอแนะในสิ่งที่ผู้เรียนหรือนักศึกษาสนใจและอยากที่จะเขียน ทำให้สถาบันนั้นสามารถเข้าถึงและรับทราบความต้องการเพื่อนำไปทำการปรับปรุงแก้ไขหรือทำการเพิ่มเติม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนให้มากที่สุด ทั้งนี้ยังใช้ในการเรียนการสอนได้อีกเช่นการเรียนส่งการบ้านส่งงานผ่าน  Social Media ที่ผู้เรียนนั้นได้ใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งนี้คือการปรับตัวไปตามาสมัยและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตัวผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่สามารถนำ  IT มาประยุกต์เข้ากับ Marketing  for educationในปัจจุบัน  เช่น การนำ Marketing 3.0 มาใช้กับงานห้องสมุด จะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดของการบริหารห้องสมุดแบบใหม่ ทั้งการวางแผนเชิงปฏิบัติการ การควบคุมการบริการในลักษณะที่ต้องตามให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้บริการในสังคมยุคใหม่ รวมถึงการหาแนวทางพัฒนา สร้างสรรค์คุณค่าบริการ การสื่อสาร และที่สำคัญที่สุดคือ  ต้องสร้างความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ ความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรหรือห้องสมุด  เพื่อที่ผู้ใช้บริการจะไม่ได้เข้ามาเพราะความจำเป็นเพียงอย่างเดียว แต่มาเพราะเกิดความประทับใจและผูกผันกับห้องสมุดด้วย และการใช้โปรแกรม PMB หรือ PhpMyBibli ซึ่งเป็นโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบ Open Source ที่มีความสามารถสูง รองรับระบบงานห้องสมุดได้หลากหลาย และถูกนำไปใช้งานในหลาย ๆ ประเทศไม่แพ้ KOHA, OpenBiblio, Evergreen หรือ Senayan  ซึ่งจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับห้องสมุดทุกระดับ ทดแทนการใช้งานโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่มีราคาแพงและขาดความยืดหยุ่นในหลาย ๆ ด้าน พัฒนาด้วยเทคโนโลยี  PHP-MySQL และเป็น Web Application (HTTP Protocol) ทำงานผ่านเว็บบราวเซอร์ อีกทั้งรองรับหลายภาษารวมถึงภาษาไทย

ข้อดีของการประยุกต์ใช้ IT กับ Marketing for education
  •  เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีมากกว่า
  •  สามารถกระจายข่าวสารข้อมูลสินค้าต่างๆ ทำได้ทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น ช่วยให้กระบวนการจัดการ   ความรู้ทำได้อย่างกว้างขวาง และสามารถจำกัดหรือขยายขนาดของเครือข่ายสังคม 
  •  สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น เช่น การตรวจสอบจำนวนคนที่เข้าชม หรือสนใจ หรือการเก็บสถิติผู้ที่สนใจนั้นเอง ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทำให้สถาบันการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร นโยบายต่างๆให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนให้มากที่สุด
  • ราคาลงโฆษณาถูก และคุ้มค่า กว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น เป็นสื่อที่ประหยัดเหมาะสมต่อการใช้สื่อประเภทนี้ เป็นสื่อที่ปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อม ดังนั้นประสิทธิภาพและความสำเร็จจึงขึ้นอยู่ กับปัจจัยที่หลากหลายทั้งด้านสถานะทางสังคม และทัศนคติ การยอมรับ ดังนั้นจึงเป็นสื่อที่มี ความเหมาะสมต่อการเสริมสร้างโอกาสและความรับผิดชอบของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
  • เป็นสื่อที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มด้วยกัน  ซึ่งสื่อ Social Media จะก่อให้ เกิดคุณประโยชน์ สำคัญที่ผู้ เรียนสามารถเลือกหรือสร้างช่องทางทางการเรียนรู้จากสื่อสังคมดังกล่าวที่กระทำได้ในหลากหลายกิจกรรมในการสื่อสาร
  • จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • เป็นการสร้างศักยภาพของการสื่อสาร /สื่อความหมายสนองต่อความต้องการของการสื่อความหมายในการเรียนการสอนของผู้เรียนและทำให้ผู้ เรียนได้ รู้ถึงรูปแบบและระดับในการสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมทางการเรียนรู้ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ ได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการสื่อสารจากสื่อ Social Media เป็นตัวเชื่อมโยงประสบการณ์ดังกล่าว
  • เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างทักษะความรู้ได้อย่างมีวิจารณญาณ   สื่อจะเปิดโอกาสให้ผู้ เรียนสามารถสร้างทักษะองค์ ความรู้ที่มีประสิ ทธิ ภาพ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะในการพัฒนาการใช้สื่อประเภทดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิผล
  • สื่อเปิดกว้างตลอด 365 วัน 24 ชม.
  • การเข้าร่วมในเว็บเครือข่ายสังคม มักเป็นความสมัครใจของสมาชิกเอง ทำให้สมาชิกเต็มใจ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในเครือข่ายสังคม
  • การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลางของเว็บ facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น
แต่การนำ IT มาประยุกต์ก็อาจมีข้อเสียบางส่วน เช่น
·    
  • การใช้งานเพื่อความบันเทิง เกมมากกว่าการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่นใน facebook จะประกอบด้วยเกมต่างๆ มากมาย และส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาในการเล่นที่ต่อเนื่องความจำเป็นของอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง และหากผู้สอนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนำเสนอข้อมูลไปยังผู้เรียนเป็นหลักอาจจะก่อให้การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้เรียนได้   
  •   การรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการขาดวิจารณญาณในการข้อมูล ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้าสู่การเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ แหล่งการรับข้อมูลจะไม่สามารถจำกัดไว้เพียงจากผู้สอนเท่านั้น ซึ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องย้ำถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลให้กับผู้เรียน
  • ·      การขาดวิจารณญาณในการนำเสนอข้อมูล เนื้อหาของผู้เรียน ด้วยความสะดวก รวดเร็วในการ        เผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะพบว่า หลายครั้งทำให้หลายคนขาดความยั่ง  คิดในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา

ในอนาคตนี้ การตลาดการศึกษาจะแข่งขันกันรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ราจะเห็นได้ว่า ทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตามสนามบินต่างๆ ในเมืองใหญ่ๆ เราจะแทบเดินชนอาจารย์จากกรุงเทพฯ เดินสายไป Lecture ที่ต่างจังหวัดกันทั้งนั้น ดังนั้น การนำ IT ในรูปแบบต่างๆเข้ามาประยุกต์ในส่วน Marketing for education ก็จะเป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งยังรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาที่จะเติบเติบมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย
การตลาดยุคใหม่ที่จะสร้างสรรค์ความเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน จะต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเป็นปัจจัยนำไปสู่การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์บุคลากร ที่จะพัฒนาและส่งแนวคิดไปยังรุ่นต่อไป


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

GIS VS Web-Service

            ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information Systems (GIS) คือ ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เห็นมิติและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา และประกอบการตัดสินใจในการปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่
           เนื่องจากชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ โดยทั่วไปจะมีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ไม่มากก็น้อย การตัดสินใจใดๆก็ตาม มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านภูมิศาสตร์เสมอ เทคโนโลยี GIS สามารถช่วยในการจัดการและบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ พร้อมทั้งทำให้สามารถเข้าใจในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในเทคโนโลยี GIS ทำให้ผู้ใช้สามารถลดเวลาที่ต้องเสียไปในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มาก เช่นเดียวกับการที่สำนักพิมพ์นำเสนอข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วและในราคาถูก เทคโนโลยี GIS ก็จะสามารถทำให้ข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นที่แพร่หลายและแพร่กระจายไปสู่ผู้ใช้ต่าง ๆ ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนของการผลิตการปรับปรุง และการเผยแพร่ข้อมูล นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS ยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยเปลี่ยนวิธีการนำเสนอและการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงพื้นที่เหล่านั้น ข้อมูลเชิงพื้นที่นับว่าเป็นข้อมูลที่สามารถดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับความต้องการด้านต่างๆได้ง่ายโดยการนำเสนอ เทคโนโลยี GIS เข้ามาช่วย อีกทั้งในปัจจุบันการเข้าถึงที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบันมากที่สุดคงไม่พ้นผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์ ด้วยเทคโนโลยี "Web Service"

ตัวอย่าง
ระบบweb-serviceในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด โดยการนำเทคโนโลยีGIS มาช่วยในการแสดงผลข้อมูล โดยการทำวีดีทัศน์และข้อมูลสารสนเทศ จะนำ GISมาช่วยในการแสดงที่ตั้งและอาณาเขตของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยแบ่งโซนการท่องเที่ยวออกเป็นแต่ละประเภท โดยใช้สีที่แตกต่างกัน เช่น
สีเขียว แทนด้วย  สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
สีขาว  แทนด้วย  สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา
สีดำ    แทนด้วย  สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังนำ GIS มาแนะนำโซนของสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม สถานที่ท่องแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบของการใช้สีที่แตกต่างกันได้ด้วย เช่น สีเหลือง สีแดง  

 ข้อดีของการนำWeb-serviceมาประยุกต์ใช้กับระบบGIS

  • ·ข้อมูลมีขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง จึงจะสามารถใช้งานได้ การให้บริการด้วย web service จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา , Smart Phone , Tablet , iPad , iPhone สามารถใช้งาน GIS ได้
  • ข้อมูล GIS มีความซับซ้อน ยากต่อการนำไปใช้ของคนทั่วไป การให้บริการด้วย web service จะทำให้ผู้ใช้บริการ ที่ไม่มีความรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับ GIS สามารถใช้งาน GIS ได้
  • รูปลักษณ์รูปแบบในการใช้งาน เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ในทุกๆเครื่องมือ  เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ดึงข้อมูลไปจาก Web Service เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยใช้งานได้ง่ายๆ กับทุกๆ เครื่องมือ
  • ปลอดภัยต่อการโจรกรรมข้อมูลทั้งฐานข้อมูล  เนื่องจากการบริการข้อมูลด้วย Web Service เครื่องแม่ข่ายให้บริการข้อมูลเฉพาะส่วนของข้อมูล ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ ณ ขณะนั้นเท่านั้น ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงปลอดภัยต่อการ copy data
  • สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรมร่วมกัน เนื่องจากผู้พัฒนาโปรแกรม สามารถนำ Service ไปพัฒนาต่อยอดได้เลย

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ ได้แก่
  • ความเสี่ยงจากผู้ปฏิบัติงาน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากใช้งาน  การจัดความสำคัญในการเข้าถึง ข้อมูลไม่เหมาะสมกับการใช้งานหรือการให้บริการ โดยผู้ใช้อาจเข้าสู่ระบบสารสนเทศ หรือใช้ข้อมูลต่างๆ  ของกรมเกินกว่าอำนาจหน้าที่ของตนเองที่มีอยู่  และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลสารสนเทศได้
  • ความเสี่ยงจากภัยหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยพิบัติ ตามธรรมชาติหรือสถานการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับข้อมูล และสารสนเทศ เช่น  ไฟฟ้าขัดข้อง น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
  • ความเสี่ยงด้านเทคนิค เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือและอุปกรณ์เอง อาจเกิดถูกโจมตีจากไวรัสหรือโปแกรมไม่ประสงค์ดี  ถูกก่อกวนจาก Hacker ถูกเจาะทำลายระบบจาก Cracker

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

HRIS กับ Web - Service

     ข้อมูลบุคคลเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญต่อการบริหารงานในองค์กร ดังนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลสารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคลมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหาร การวางแผนกำลังคน การพัฒนาและฝึกอบรม องค์กรจึงหาทางใหม่เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการแบบใหม่ เข้ามาแทนระบบเดิม ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นกระบวนการที่รวบรวม จัดเก็บ บำรุงรักษา และนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ระบบสารสนเทศมีความถูกต้องสมบูรณ์ สามารถนำข้อมูลต่างไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      หากจะนำระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลมาประยุกต์เป็น web – service นั้นสามารถทำได้  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้ดียิ่งขึ้น ง่ายขึ้น ไม่ยุ่งยาก โดยอาจแบ่งเป็น Module ได้ดังนี้

  • ·        ระบบสรรหาบุคลากร : ดำเนินการในด้านการคัดเลือกคนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับกระบวนการในการจัดหาหรือสรรหาอัตรากำลังคนอย่างมีประสิทธิผลและมีความรวดเร็ว ส่งเสริมความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพในองค์กรของท่านได้อย่างน่าสนใจ โดยผ่านทางฐานข้อมูลที่ครอบคลุมซึ่งมีข้อมูลของผู้มีความสามารถทั้งภายใน  และ   ภายนอกองค์กร มีการตั้งค่าการแจ้งเตือนให้ทราบได้โดยทันที และกรองข้อมูล เพื่อให้ระบุการจับคู่ที่มีความเป็นไปได้ที่สุดสำหรับการเปิดรับพนักงานใหม่ อีกทั้งยังช่วยปรับปรุงความร่วมมือระหว่างแผนกทรัพยากรบุคคลกับผู้จัดการส่วนงานที่ว่าจ้างพนักงานนั้นด้วย โดยผ่านทางวิธีการที่คำนึงถึงการแจ้งความต้องการด้านทรัพยากรในด้านกระบวนการทำงาน
  •        ระบบจัดการกะ เวลาเข้าทำงาน ค่าล่วงเวลา  : การติดตามการเข้าปฏิบัติงานในแต่ละวันของพนักงาน การมาสาย การขาดงาน การทำงานล่วงเวลา และเงินช่วยเหลือ และการหักลดที่เกี่ยวกับการเข้าปฏิบัติงานซึ่งจะเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติกับระบบสแกนลายนิ้วมือ และนาฬิกาบันทึกการเข้าทำงาน การเลิกงานแบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ใช้โดยฝ่ายบริหารในฐานะที่เป็นเครื่องมือในเชิงรุกสำหรับการกำหนดเวลาปฏิบัติงานของแผนก สำหรับใช้การปันส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านทรัพยากรต่างๆ และการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
  •       ระบบการจัดการการลาออนไลน์  : พนักงานสามารถลาผ่านระบบออนไลน์ และหัวหน้าอนุมัติผ่านมือถือได้  ในขณะที่กำลังจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องกับข้อมูลสารสนเทศด้านการลาหยุด ออกของพนักงานลูกจ้างแต่ละคน คำขอลาหยุด ออก การอนุมัติ จะสามารถดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากโดยผ่านทางระบบ ออนไลน์ ซึ่งรวมอยู่กับ ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email system) ซึ่งจะให้ข้อมูลเป็นแบบ real time เพื่อส่งต่อให้กับผู้จัดการในสายงานการผลิตหรือสายการบังคับบัญชา และส่งให้กับแผนกทรัพยากรบุคคล
  •        ระบบจัดการการฝึกอบรม : ช่วยให้ทุกคนสามารถดำเนินการเกี่ยวกับการอบรมได้บนหน้าจอเดียวกัน บริหารจัดการด้านการแจ้งความต้องการและงบประมาณในการฝึกอบรมสำหรับทุกแผนกงาน การจัดเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมต่างๆ ที่จัดให้แก่พนักงาน โดยผ่านทางหลักสูตรต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอก (การเข้าร่วมอบรม ความสำเร็จในการจัดอบรม ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบบริหารจัดการผลการปฏิบัติงานสำหรับสอบทานงานที่แล้วเสร็จในปีนั้นๆ และข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้งานในการตัดสินใจได้ พร้อมจัดทำรายงานส่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  •       ระบบประเมินผลงาน : เช่น เกณฑ์การประเมินที่ผู้ใช้กำหนดคุณค่าของแต่ละเกณฑ์ การหารือเกี่ยวกับการประเมิน สิ่งที่พบในการประเมิน   รายบุคคล การให้คะแนนทั้งหมดและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยเชื่อมต่อกับการจัดทำเงินเดือนค่าจ้าง การอบรม และฐานข้อมูลพนักงาน ช่วยงานแผนกทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผล
  •        ระบบการจัดการเบิกค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย  :  บริหารจัดการแบบรวมศูนย์ในด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีของพนักงาน (สิทธิประโยชน์และค่าตอบแทน ตามที่ผู้ใช้กำหนด สิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินที่ไม่เป็นตัวเงิน จำนวนสูงสุดของค่าตอบแทน หลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ การพักงาน ฯลฯ) การจัดทำรายงานต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จสำหรับแผนการจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน 


รูปที่ 1 : ระบบสารสนเทศบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีรูปแบบเป็น Web- service





รูปที่ 2 : งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน





วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"E-Learning" กับ "Web Service"

ความสัมพันธ์ระหว่าง "E-Learning" กับ "Web Service"

  ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ไดมีการพัฒนาไปสูระบบการเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค หรือที่เรียกว่า e-learning เพื่อผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรูไดด้วยตนเองในทุกที่ และทุกเวลาโดยผ่านระบบจัดการการเรียนรูหรือที่เรียกว่า  LMS (Learning Management System) ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการเกี่ยวกับการสร้างข้อมูลการเรียนรู และการเขาใชงานขอมูลการเรียนรูของผูเรียนแต่ละคน อันเป็นหารนำไปสู่ระบบการเรียนรูที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไดจากประโยชนของระบบ e-learning จึงทำให้หลายสถาบันการศึกษามีความต้องการที่จะมีระบบ e-learning ที่เป็นของตนเอง โดยการพัฒนาขึ้นมาเองหรือการนำเขาจากต่างประเทศ จึงทำให้มีความหลากหลายของระบบ e-learning เกิดขึ้น เนื่องจากถูกพัฒนาด้วยแพลตฟอร์ม (platform) ที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่ปัญหาการขาดความยืดหยุ่นในการพัฒนา (flexibility) การทำงานร่วมกัน (interoperability) การแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนรูร่วมกัน (exchangeability) และการนำเนื้อหาที่มีอยู่แลวกลับมาใช้ใหม่ (reusability) อันทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการพัฒนาข้อมูลการเรียนรูของแต่ละสถาบัน และนำไปสู่การสูญเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการพัฒนาข้อมูลการเรียนรู
 คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
  ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า E-Learning สามารถทำได้หลายรูปแบบ ที่เห็นอย่างเด่นชัดในปัจจุบันคือ การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning) ซึ่งถือเป็น Web Service อย่างหนึ่ง web-based learning  คือการเรียนรู้ที่ใช้การนำเสนอแบบเว็บคือเขียนด้วยภาษา html แสดงผ่านตัวอ่านที่เรียก Browserที่อ่านได้แบบมัลติมีเดีย ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาถ้าอ่านผ่านBrowserทางเครือข่ายInternet เช่นเดียวกัน web-base instruction เป็นคำสอนที่เขียนขึ้นด้วยภาษา html เช่นเดียวกัน และผ่านตัวอ่านBrowser ผู้สอนจัดทำขึ้นสำหรับผู้เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ออกนำเสนอทางInternet  และมีระบบจัดการเรียนรู้ด้วยมักเรียกกันว่า e-Learning
ยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเห็นได้ชัดเจน เช่น CISCO e-Learning Solutions  เป็นตัวอย่างหนึ่งของ e-Learning ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกอบรมตามประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่จัดการรายการต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ นับตั้งแต่การลงทะเบียน  การสืบท่อง (Navigation)  การเลือกบทเรียน และการต่อเชื่อมเข้าระบบ  นอกจากนี้ใน CISCO e-Learning จะมีการแบบทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ส่วนอีกด้วย ซึ่งถ้าผู้เข้าเรียนรู้สอบผ่าน ทาง Ciscoก็จะออกใบประกาศนียบัตรให้ เพื่อบอกว่าผู้เรียนได้ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้มาแล้ว ใบประกาศนียบัตรนี้ทางCiscoจะให้ไว้ในระบบเช่น CISCO e-Learning นี้



วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประยุกต์ใช้IT เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีอันเกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าการค้าขายเศรษฐกิจของสินค้าอุบลราชธานี

เนื่องจากในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน หากจะกล่าวถึง การนำ IT (Information Technology) มาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีอันเกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าการค้าขายเศรษฐกิจของสินค้าอุบลราชธานี คงจะหนีไม่พ้นกับการทำ E-Commerce    E-commerce คือ การทำธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่น่าจะมีส่วนช่วยทำให้มูลค่าการค้าขายเศรษฐกิจของสินค้าอุบลราชธานีเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยการลงทุนที่ไม่มากนักแต่สามารถสร้างผลกำไรได้นั่นคือธุรกิจการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในนาม “ E-commerce ” ในเว็บไซต์ในประเทศไทยที่มีการทำ E-Commerce อาทิเช่น talad.com เนื่อจากในยุคปัจจุบันอินเตอร์เน็ทถือเป็นแหล่งที่ทุกคนเข้าถึงเป็นลำดับต้นๆและเริ่มเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น
ในการทำ E-Commerce เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีอันเกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าการค้าขายเศรษฐกิจของสินค้าอุบลราชธานี ควรนำจุดเด่นของจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด หรือสินค้าประจำจังหวัด ซึ่งสินค้าประจำจังหวัดมีมากมายหลายอย่างด้วยกัน ก็ควรคัดสรรมาจากสินค้าประจำชุมชน เช่น ศูนย์สินค้าเศรษฐกิจชุมชนอุบลราชธานี จำกัด ที่มีอาคารเพื่อให้มีพื้นที่ให้กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพ ของแต่ละ อบต. ในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถทำสินค้ามาฝากขายได้ โดยคิดค่าบริการต่ำกว่าห้างร้านเอกชน เพื่อให้สินค้าขายง่าย และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการบริการงานของศูนย์สินค้าเศรษฐกิจชุมชน เพื่อเป็นจุดรวมของสินค้าทุกชนิด ที่ผลิตจากกลุ่มอาชีพ และกลุ่มเกษตรกรของทุก อบต. ในจังหวัด และจังหวัดโดยรอบนำมาพัฒนาในด้านคุณภาพเน้นปลอดสารพิษ และช่วยออกแบบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย สวยงาม เพื่อเข้าสู่มาตรฐานในอนาคต  เช่น กระติบข้าว กระเป๋าสะพายปอถัก กระเป๋าถือลายขิด ซึ่งเราก็ควรนำเสนอสินค้าประจำจังหวัดนี้มาเปิดตลาดสู่สากล ผ่านทางการทำ E-Commerce นอกจากสินค้าประจำจังหวัดแล้ว เราอาจจะโปรโมทจังหวัดของเราสู่สายตาอาเซียน ด้วยการนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และมีความสวยงาม เข้าไปในเว็บ ที่ทำ E-commerce  
หากในปีพ.ศ. 2558 ที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว และ E-Commerce ของจังหวัดอุบลราชธานีมีความพร้อม การเปิดเขตการค้าเสรีอาจจะเป็นโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัด เพราะสินค้าที่ไม่สามารถขายในประเทศอาจจะมียอดขายที่ดีในต่างประเทศก็เป็นได้

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"IT" VS "IS"


           จากคำถามที่ว่า Information Technology กับ Information System แตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ IT และ ISกันก่อน

              เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology): IT หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ เพื่อความสะดวกและเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผลของข้อมูล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล การเก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย

              รบบสารสนเทศ (Information System): IS  หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่ายฐานข้อมูลผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ชุดขององค์ประกอบที่ประกอบด้วยกลุ่มคน กระบวนการ และทรัพยากรที่ทำหน้าที่รวบรวม,การตรวจสอบข้อมูล,จัดเก็บข้อมูล,การวิเคราะห์ข้อมูล,การนำข้อมูลไปใช้หรือประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน,การตัดสินใจ,การวางแผน,การบริหาร,การควบคุม,การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ

ความต่างกันของ  IS และ IT 

                    IT จะเป็นการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผล รวมไปถึงการเก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูล  แต่ISจะเป็นการใช้ระบบ กระบวนการการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาเรียบเรียงทำให้เป็นสารสนเทศโดยอาศัยบุคคลและคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ
ความเหมือนกันของ  IS และ IT 
                    วิธีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม การประมวลและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ ยังเป็นการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศและช่วยในการแก้ปัญหา รวมไปถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ข้อมูล
 
                    สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง และ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ 
 
                    จากความหมายของคำว่า “IT” และ “IS” ด้านบน ดิฉันมีความคิดเห็นว่าว่า IT เป็น Subset ของ IS



ตัวอย่าง

     ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่ง เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ